การแยกสาร
1. การกรอง (filtration) เป็นการแยกสารที่มีอนุภาคต่างกััน โดยตัวถูกทำละลายไม่ละลายในตัวทำละลายและมีขนาดของวัตถุใหญ่การวัตถุที่ใช้กรอง เช่น ผงถ่านกับน้ำ ทรายกับน้ำ
2.การตกผลึก (crystallization) เป็นการแยกตัวละลายออกจากสารละลายอิ่มตัวที่อุณภูมิสูง สารละลายอิ่มตัว คือ สารละลายที่มีตัวละลายอยู่ปริมาณมากจนไม่สามารถละลายได้อีก ณ อุณหภูมิหนึ่ง เช่น สารส้ม เกลือแกง กำมะถัน จุนสี
3. การกลั่นแบบธรรมดา เป็นวิธีการแยกสารที่มีอุณภูมต่างกันมาก เช่น หินปูนกับน้ำ เกลือกันน้ำ
4. การกลั่่นแยกลำดับส่วน (fractional distillation) เป็นการแยกสารละลายที่่มีอุณหภูมิใกล้เคียงกัน เช่น น้ำมันดิบ
5. การสกัดโดยการกลั่นด้วยไอน้ำ (steam distillation) นิยมใช้สกัดน้ำมันหอมระเหยออกจากส่วนต่างๆของพืช สารที่ต้องการแยกต้องไม่ละลายน้ำ ระเหยง่าย มีจุดเดือดต่ำ เช่นผิวมะกรูด ใบยูคาลิปตัส
6.การสกัดด้วยตัวทำละลาย (solvent extraction) เป็นการแยกสารที่ต้องการออกจากส่วนต่างๆของพืช เช่น ถั่วเหลือง ปาล์ม ถั่งลิสง เป็นต้น
7. การแยกสารโดยวิธีโครมาโทกราฟี (chromatography) นิยมใช้แยกสารที่มีปริมาณน้อย สารที่ละลายได้ดีจะถูกดูดซับน้อยและเคลื่อนที่ไปได้ไกล เช่น สารที่มีสีผสมอยู่ โดยจะมีค่า Rf ไม่เกิน 1
การแยกสารโดยวิธีการอย่างง่าย มีหลายวิธีได้แก่
1.การระเหย สารละลายที่ประกอบด้วยของแข็งที่ระเหยยากและตัวทำละลายที่ระเหยง่าย
2.การใช้กรวยแยก ใช้แยกของเหลวที่ไม่รวมเป็นเนื้อเดียวกัน เช่น น้ำมันกับน้ำ
3.การระเหิด ใช้แยกของแข็ง ซึ่งเปลี่ยสถานะเป็นแก๊สด้วยความร้อน โดยไม่ผ่านขั้นตอนเป็นของเหลว
4. วิธีการหยิบออก ใช้แยกของแข็งที่เป็นก้อน
5. ใช้แม่เหล้กดูด ใช้แยกสารแม่เหล็กออกจาก สารที่ไม่ใช่สารแม่เหล็ก
ขอบคุณค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น